Blog

Uncategorized

Korex

Korex ซินไบโอติก คืออะไร ?

ซินไบโอติกส์ (Synbiotics) คือ การรวมกันของ โพรไบโอติกส์ และ พรีไบโอติกส์ ที่ได้จากผงผักเคลคุณภาพจาก noBitter 100% ผ่านกระบวนการผลิตที่พิถีพิถันและปลอดภัยในรูปแบบแคปซูลที่รับประทานง่าย

Korex ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติให้คุณมีแต้มต่อในการปัองกันโรคที่ไม่คาดคิดได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

เปิดให้สั่งจองได้แล้ววันนี้ในราคา กระปุกละ 800 บาท กับโปรโมชั่สุดพิเศษ ซื้อ 3 แถม 3 สั่งตอนนี้ได้ถึง 6 กระปุก ในราคาเพียง 2,400 บาท (เฉลี่ยกระปุกละ 400 บาท) เหมาะสำหรับเป็นของฝากช่วงปีใหม่ให้คนที่คุณรัก สนใจทักไลน์เลย โปรโมชั่นนี้ถึง 20 ตุลาคม 2566 เท่านั้น

Processed products

KEX

KEX เป็นสารประกอบเชิงหน้าที่ (Functional ingredient) เพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ด้วยการช่วยในการควบคุมระดับไขมันและน้ำตาล โดยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด และช่วยป้องกันภาวะเบาหวานโดยการลดการสร้างกลูโคสที่ตับได้

Read more “KEX”
Processed products

Furikake

เริ่มแรกเดิมที “ผงโรยข้าวญี่ปุ่น” หรือ furikake มีต้นกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่น ช่วง ค.ศ. 1912-1926 โดยเภสัชกร สุเอคิจิ โยชิมารุ ที่อยู่ในจังหวัดคุมาโมโตะ เกาะคิวชู ได้ลองนำส่วนผสมกระดูกปลาป่น ไปคลุกกับงาคั่วและผงสาหร่าย เพื่อรักษาอาการขาดแคลเซียม ที่เกิดขึ้นในชาวญี่ปุ่น

Read more “Furikake”
Blog

การแถลงข่าวเปิดตัว ผักเคลโพแทสเซียมต่ำ

การแถลงข่าวเปิดตัว ผักเคลโพแทสเซียมต่ำ (ผักเคล Low K จาก noBitter) โดย ดร.วิลาส ฉ่ำเลิศวัฒน์ บริษัท โนบิทเทอร์ จำกัด รศ.ดร.สิริวัฒน์ สาครวาสี คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

เนื่องในวันไตโลก ประจำปี 2566 ทางบริษัท โนบิทเทอร์ จำกัด ได้ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ “ผักเคล Low K” จากการวิจัยพัฒนาการปลูกพืชในระบบปิดเพื่อลดสารโพแทสเซียมในผัก

Read more “การแถลงข่าวเปิดตัว ผักเคลโพแทสเซียมต่ำ”
Blog

โอกาสสำหรับเกษตรกรในการทำ CEA

noBitter เราทำ CEA (Controlled-Environment Agriculture) มา 4 ปีแล้ว (ตั้งแต่ปี 2018) เพราะการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรมหลายๆ อย่างที่กล่าวไว้ในบทความ “มาทำความรู้จักกับ CEA” ได้ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรและความมั่นคงทางอาหารของโลก CEA เป็นประเด็นร้อนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และเป็นภาคส่วนที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ตลาด Global Vertical Farming Market มีมูลค่า 3.12 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2019 และคาดว่าจะสูงถึง 16.77 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2027 อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดการนำไปใช้อย่างแพร่หลาย สิ่งสำคัญคือต้องแสดงให้เห็นว่าวิธีการของ CEA จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตอาหารในปัจจุบันและในอนาคตได้อย่างไร

Read more “โอกาสสำหรับเกษตรกรในการทำ CEA”
Blog

มาทำความรู้จักกับ CEA

CEA ในที่นี้ย่อมาจาก Controlled-Environment Agriculture เป็นวิธีการสร้างสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมอย่างสมบูรณ์สำหรับการปลูกพืช ซึ่งบางครั้งหลายคนจะเรียกว่า “การทำฟาร์มในร่ม” หรือ “การทำฟาร์มแนวตั้ง” หรือเล่นกันเต็มยศก็ “การทำฟาร์มแนวตั้งในร่ม” ซึ่งก็ตามชื่อที่เรียกครับ มันก็การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกและป้องกันไม่ให้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมภายนอก แล้วจัดเตรียมทุกสิ่งที่พืชต้องการในขั้นตอนการเจริญเติบโตต่างๆ ได้แก่ น้ำ อุณหภูมิ ระดับความชื้น การระบายอากาศ แสง และ CO2

Read more “มาทำความรู้จักกับ CEA”
Blog

4 ข้อผิดพลาดในการทำฟาร์มแนวตั้ง

ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเกษตรแนวตั้งกำลังเข้าสู่ช่วงปรับฐาน เราได้เห็นการปิดฟาร์มที่มีชื่อเสียงและการปลดพนักงานจำนวนมาก ทำให้หลายคนสงสัยว่าการทำฟาร์มแนวตั้งมีอนาคตจริงๆ หรือไม่ ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมนี้มักประสบปัญหาด้านการโฆษณาเกินจริง หรือความสามารถในการทำกำไรไม่ได้อย่างที่พูด สิ่งนี้ไม่ได้เลวร้ายไปเสียทีเดียว แต่สิ่งสำคัญคือต้องเรียนรู้จากข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นเพื่อที่เราจะได้หลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่คล้ายกันในอนาคตได้

Read more “4 ข้อผิดพลาดในการทำฟาร์มแนวตั้ง”
Blog

Gartner Hype Cycle กับอุตสาหกรรม Vertical farm

ด้วยจำนวนประชากรโลกที่คาดว่าจะสูงถึง 10,000 ล้านคน ภายในปี 2593 (ค.ศ.2050) ประกอบกับจำนวนพื้นที่เพาะปลูกที่ลดลงซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) และการขยายตัวของเมือง (urbanization) อุตสาหกรรมการเกษตรจึงเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ด้วยเหตุนี้ ฟาร์มแนวตั้ง (vertical farm) จึงได้รับความสนใจอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาว่าจะเป็นทางออกที่เป็นไปได้หรือไม่?

Read more “Gartner Hype Cycle กับอุตสาหกรรม Vertical farm”
Blog

การเปลี่ยนแปลงระบบอาหารในยุค new normal หลังโควิด

เพราะโรคระบาดทำให้ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของอาหาร (food safety) และคุณค่าทางอาหาร nutrition มากขึ้น ใครๆ ก็อยากอายุยืนสุขภาพแข็งแรง ไม่ใช่แค่กินอิ่มอร่อยอย่างเดียวเหมือนแต่ก่อน จึงนำไปสู่ demand ที่เพิ่มขึ้นในขณะที่ supply ไม่ได้เพิ่มขึ้นตาม ผลลัพธ์ก็ขึ้นราคาสูงขึ้น

Read more “การเปลี่ยนแปลงระบบอาหารในยุค new normal หลังโควิด”
Blog

ทิศทาง vertical farm หลัง 2022

ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา เงินหลายพันล้านเหรียญได้ถูกลงทุนในบริษัทที่ออกแบบและสร้างฟาร์มสมัยใหม่ภายใต้สภาวะควบคุม เพราะมีความเชื่อว่านี่คือหนึ่งในนวัตกรรมที่จะนำพามาซึ่งความอยู่รอดของมวลมนุษยชาติ จากสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายขึ้น การเกษตรแบบเดิมๆ ที่คาดการณ์อะไรได้ยากขึ้น รวมไปถึงจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มมากขึ้น แต่แล้วในปี 2022 ที่ผ่านไป เราได้พบความจริงที่ว่า หลายบริษัทไปไม่รอดแล้ว เพราะบริษัทเทคโนโลยีด้านฟาร์มเหล่านี้มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสูงมากเมื่อเทียบกับการปลูกกลางแจ้งทั่วไป โดยเฉพาะในช่วงวิกฤตพลังงานที่เกิดขึ้นระหว่างสงครามรัสเซีย-ยูเครน

Read more “ทิศทาง vertical farm หลัง 2022”