การเปลี่ยนแปลงระบบอาหารในยุค new normal หลังโควิด
เพราะโรคระบาดทำให้ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของอาหาร (food safety) และคุณค่าทางอาหาร nutrition มากขึ้น ใครๆ ก็อยากอายุยืนสุขภาพแข็งแรง ไม่ใช่แค่กินอิ่มอร่อยอย่างเดียวเหมือนแต่ก่อน จึงนำไปสู่ demand ที่เพิ่มขึ้นในขณะที่ supply ไม่ได้เพิ่มขึ้นตาม ผลลัพธ์ก็ขึ้นราคาสูงขึ้น
Food and Agriculture Organization (FAO) หน่วยงานภายใต้องค์กรสหประชาชาติระบุว่าดัชนีราคาอาหาร (food price index) พุ่งขึ้นเป็นประวัติการณ์ในเดือนมีนาคมปี 2022 สูงถึง 159.7 จากความเฉลี่ยประมาณ 98.1 ในปี 2020 ต้องบอกว่าโลกตกอยู่ภายใต้วิกฤต ซึ่งกระทบกับความมั่นคงทางอาหาร (food security) ในหลายๆ ประเทศ โดยอีกปัจจัยที่ทำให้เกิดเรื่องนี้อีกอย่างคือ สงครามการสู้รบกันระหว่างยูเครนและรัสเซีย ที่กลายเป็นโดมิโน อันนำไปสู่แนวคิดการจำกัดการส่งออกเพื่อปกป้องความเพียงพอของอาหารภายในประเทศ และรักษาเสถียรภาพของราคาอาหารภายในประเทศที่เรียกว่า food protectionism
Food security ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ อีกต่อไป เราไม่ได้ต้องการแค่มีอาหารเท่านั้น แต่ต้องเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพด้วย ซึ่งทาง FAO ได้ให้นิยามไว้ว่า Food security ประกอบไปด้วย 4 ข้อได้แก่
1) Food availability การมีอาหารเพียงพอ โดยเป็นอาหารที่มีคุณภาพซึ่งอาจได้มาจากการผลิตภายในประเทศ และ/หรือ กานำเข้าจากต่างประเทศ
2) Food access การเข้าถึงอาหาร หมายถึง ทุกคนสามารถเข้าถึงอาหารได้ภายใต้กฎหมาย การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศนั้นๆ
3) Food utilization การใช้ประโยชน์จากอาหาร เพื่อตอบสนองต่อความต้องการบริโภคตามหลักสุขลักษณะที่ดี
4) Food stability การมีเสถียรภาพด้านอาหาร ไม่มีความเสี่ยงเรื่องการขาดแคลนจากวิกฤติใดๆ
และ Food safety เป็นหัวข้อย่อยใน Food utilization ซึ่งเป็นความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างรัฐบาล อุตสาหกรรม และผู้บริโภค การบังคับใช้ standards ต้องการความร่วมมือทั้ง food chain ในการควบคุมการปนเปื้อน อันตราย และความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น
สำหรับประเทศไทย เราถูกจัดอันดับอยู่ที่ 51 ของโลกในด้านความมั่นคงทางอาหารจากทั้งหมด 113 ประเทศ โดย Global Food Security Index 2021 ซึ่งพิจารณาจาก 4 องค์ประกอบ
1) Affordability ความสามารถในการหาซื้ออาหารเราอยู่ลำดับที่ 40
2) Natural resources and resilience ทรัพยากรธรรมชาติและความยืดหยุ่นเราอยู่ลำดับที่ 50
3) Availability ความพร้อมและความเพียงพออยู่อันดับที่ 59
4) Quality and safety คุณภาพและความปลอดภัย อันนี้แย่เลยอยู่อันดับที่ 73
เอาเข้าจริงๆ ความสามารถในการผลิตของเราไม่น่าเป็นห่วง มีปริมาณที่มากพอแต่ต้นทุนเราแข่งขันไม่ได้ ทำให้ราคาสูงกว่าที่ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศรับได้ อีกทั้งเรายังยอมอะลุ่มอล่วยกับความปลอดภัยของอาหารอันนำไปสู่โรคและความเจ็บป่วยต่าง ๆ
เพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสในการเกิดอันตรายต่อสุขภาพเราจึงจำเป็นจะต้องมีการควบคุมการผลิตอาหารให้มีความปลอดภัยโดยยึดมาตรฐานสากลต่างๆ ดังต่อไปนี้
GAP (Good Agriculture Practice) ภายใต้ มกษ.9001-2556 การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร ดูแลโดย กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
GMP (Good Manufacturing Practice) ภายใต้ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 420) พ.ศ.2563 ดูแลโดย สำนักคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
GHPs (Good Hygiene Practices) ภายใต้ มกษ.9023-2564 หลักการทั่วไปด้านสุขลักษณะอาหาร: การปฏิบัติทางสุขลักษณะที่ดี ดูแลโดย สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)
HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point) ภายใต้ มกษ.9024-2564 ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมและแนวทางการนำไปใช้ ดูแลโดย สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)
ซึ่ง noBitter เราได้รับการรับรอง GAP ทั้ง 3 ฟาร์มที่เราดำเนินการปลูกผักเคล ตาม link นี้เลยครับ https://nobitter.life/gap-certificate/