What we do

From farm to fork

ฟาร์มผักปลอดสารพิษ ที่สด สะอาดตั้งแต่ฟาร์ม จนถึงส้อมบนโต๊ะอาหาร

noBitter กับเป้าหมายการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารให้กับคนเมือง

เพราะความตระหนักในพิษภัยจากสารตกค้างต่างๆ ของผักผลไม้ที่รับประทานกันอยู่ทุกๆ วัน จึงทำให้ noBitter หันมาสนใจและศึกษาอย่างจริงจัง จนในที่สุดจึงเกิดเป็นฟาร์มผักในเมืองที่ไม่ได้ใช้ยากำจัดศัตรูพืช ไม่ต้องขนผักจากต่างจังหวัด สามารถหาซื้อผักสดได้จากสถานที่ปลูกได้เลย

From tech startup to smart farmer

อาจไม่ใช่ครั้งแรกที่ความตระหนักในเรื่องผักปลอดภัยจะถูกหยิบมาเป็นวาระสำคัญ ซึ่งหากเราดูวิถีชีวิตของผู้คนในปัจจุบันก็จะพบเห็น และได้ยินเรื่องราวของคนที่หันมาให้ความสนใจทำฟาร์มปลูกผักกันมากขึ้น โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่มีความพยายามจะนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ด้านการเกษตรควบคู่ด้วย

“เกษตร 4.0 คือส่วนสำคัญที่ทำให้เริ่มเห็นว่าเทคโนโลยีจะเข้ามาแก้ปัญหาสิ่งที่การเกษตรเจอทั้งหมดได้ โดยเฉพาะในพวกเราในฐานะคนรุ่นใหม่ที่มีความเชี่ยวชาญกับเทคโนโลยีมากๆ เทคโนโลยีที่จะช่วยทำให้ผลผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น เทคโนโลยีที่สามารถจัดการกับสภาพดิน เทคโนโลยีที่จะช่วยสร้างพื้นที่เพาะปลูก เทคโนโลยีที่จะช่วยเรื่องการควบคุมน้ำ เทคโนโลยีที่จะช่วยการเก็บเกี่ยว ได้ง่ายกว่าที่เคย”

ดร.วิลาส ฉ่ำเลิศวัฒน์
Co-Founder noBitter

วิวัฒนาการของเกษตรจะแบ่งเกษตรออกเป็น 4 ยุค เริ่มจากการเกษตร 1.0 : การเกษตรทั่วไป ที่เน้นใช้แรงงานคน สัตว์ มาเป็นการเกษตร 2.0 : การใช้เครื่องจักรเบา เช่น จอบ เสียม สู่การเกษตร 3.0 : การใช้เครื่องจักรหนัก เช่น รถไถ รถเกี่ยว และก็มาถึงการเกษตร 4.0 : การใช้ดิจิทัลเทคโนโลยี เจ้า 4.0 นี่แหละที่เป็นตัวแปรหลัก ซึ่งไม่ได้มีแค่เรื่องผักปลอดภัยเท่านั้น แต่ถ้าเราดูเทรนด์ตอนนี้จะพบว่า คนส่วนใหญ่กลับมาปลูกผักทำฟาร์มกันเยอะ และคนรุ่นใหม่จะมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ควบคู่

From inside to outside

อาหารที่เราควรบริโภคต้องเป็นไปตามหลักโภชนาการ เช่น มื้ออาหารควรประกอบไปด้วย ผัก 2 ส่วน คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน 1 ส่วน และโปรตีน 1 ส่วน ซึ่งทาง WHO หรือองค์กรอนามัยโลกบอกว่า ผัก 2 ส่วนหมายถึงอย่างน้อย 400 กรัม/วัน ทีนี้พอมีวัฒนธรรมความคิดแบบนี้ส่งต่อกันมาจากเทรด์ต่างประเทศ เราก็เริ่มเห็นโอกาสทางการตลาด ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องปกติอยู่ทุกยุคที่เทรนด์หรือแนวคิดจะถูกส่งมาจากต่างประเทศเข้าสู่ไทย และตอนนี้ทาง สสส. ก็ออกมารณรงค์อยู่ แต่ปัญหาที่เจอคือ เราในฐานะคนเมืองหาผักที่ปลอดภัยและสารอาหารยังครบยากขึ้นทุกที

ไม่เพียงเท่านั้น ก่อนหน้านี้บนอินเทอร์เน็ต เราเคยเห็นมีการแชร์ข้อมูลที่เป็นอินโฟกราฟิกต่อๆ กันมาว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ใช้ยาฆ่าแมลงมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก ประเด็นที่อยากให้ขยายก็คือ พื้นที่เพาะปลูกของไทยไม่ได้มีเยอะเหมือนในสหรัฐฯ หรือประเทศอื่นๆ แต่ตัวเลขการใช้ยาฆ่าแมลงกับสูงมากเมื่อเทียบกับพื้นที่ เรื่องนี้หาคำตอบไม่ยากเลย เพราะสาเหตุมาจากการใช้ยาฆ่าแมลงอย่างไม่ถูกวิธี

ระบบการผลิตที่ดีตามมาตรฐาน GAP
(Good Agricultural Practice)

“ที่ผ่านมาเมื่อเราต้องเร่งผลผลิต เกษตรกรก็จะอัดปุ๋ยอัดยาฆ่าแมลงทำให้มีสารตกค้างสะสมในดิน กลายเป็นปัญหาที่สะสมกันมายาวนาน ตอนนี้ยาฆ่าแมลงบางตัว ต่างประเทศก็เริ่มเลิกใช้กันไปแล้ว แต่ประเทศไทยเราก็ยังใช้อยู่ ถามว่าถ้าไม่ใช้ยาฆ่าแมลงเลยได้ไหม ตอบว่าถ้าไม่ใช้คนในเมืองก็จะไม่มีผักกิน เพราะเรามีปัญหาเรื่องแมลงกัดกินผัก กว่าจะมาถึงผู้บริโภคแมลงก็คงไม่มีผักสวยๆ ให้ทุกคนเห็น”

แต่ noBitter แก้ไขเรื่องนี้ได้ เพียงแค่ต้องมีความเข้าใจกับสิ่งที่ใช้ ที่ผ่านมาเกษตรกรไม่มีความเข้าใจเรื่องสารเคมี ไม่รู้การควบคุมปริมาณการใช้ จนส่งผลให้ตกค้างในผลผลิตและในดิน ซึ่งความจริงแล้ว ทางกระทรวงการเกษตรฯ ได้มีการนำเอาหลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี หรือระบบการผลิตที่ดีตามมาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practice) จะช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของอันตรายที่เกิดขึ้นระหว่างการเลี้ยงการเก็บเกี่ยวผลผลิต การจัดการหลังเก็บเกี่ยวเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพความปลอดภัยและเหมาะสมต่อการบริโภค

มาตรฐานของ GAP จะมีการพิจารณาตั้งแต่พื้นที่ปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว และการจัดการหลังเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ตรงตามมาตรฐาน และมีความปลอดภัยเมื่อถึงมือผู้บริโภค

สำหรับไทยมีการเริ่มจัดทำระบบ GAP ของแต่ละพืช ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 เช่น ผักผลไม้สดที่วางขายตามท้องตลาด ส่วนใหญ่ต้องดูสวย ไม่มีร่องรอยของการถูกทำลายโดยโรคและแมลงศัตรูพืช แต่ความสวยงามนั้นไม่ได้บ่งบอกถึงความปลอดภัยทางอาหารอย่างแท้จริง ในทางกลับกันอาจมีสารปนเปื้อนจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหารของคน ดังนั้นขั้นตอนและวิธีการจัดการให้ผลผลิตปลอดภัยจึงมีความสำคัญต่อระบบความปลอดภัยในอาหาร ตั้งแต่สถานที่ปลูก จนถึงโต๊ะอาหาร (From Farm to Fork)

กลับมาที่ความเข้าใจ ปุ๋ยไม่ว่าจะปุ๋ยคอกหรือเคมีมันก็มีสารสามชนิดที่พืชต้องการเหมือนกันคือ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) ถ้าเกษตรกรขาดความรู้เรื่องการใช้ สารอาหารก็สามารถตกค้างได้หมด ยิ่งปลูกในดินยิ่งเข้าไปใหญ่เพราะจะตกค้างไปสู่พืชรุ่นถัดไปด้วย

สำหรับการตกค้างที่เกิดขึ้น มาจากสาเหตุที่พืชสังเคราะห์แสงไม่พอ สารอาหารส่วนนึงก็กลายเป็นไนเตรสอย่างที่เราได้ข่าว แล้วทำไมสังเคราะห์แสงไม่พอ ก็เพราะเมื่อปลูกพืช outdoor ทุกอย่างขึ้นอยู่กับดินฟ้าอากาศ ไม่มีแดดก็สังเคราะห์แสงไม่ได้ แต่ที่ฟาร์ม noBitter เราควบคุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช ทั้งแสง อุณหภูมิ น้ำ สารอาหาร ความเป็นกรดด่าง คุมได้ทั้งหมด มันคือการเลียนแบบธรรมชาติที่ควรจะเป็น พืชจึงสามารถนำสิ่งต่างๆ ที่เราให้ไปใช้สังเคราะห์แสงได้ทั้งหมด ทำให้ไม่เหลือสารตกค้างเลย มีแต่สารอาหารที่เป็นประโยชน์และความสด มันสดใหม่อร่อยมากครับ ไม่เชื่อต้องลองมาทานกันดู

ส่วนอีกประเด็นเรื่องการปนเปื้อนจากการขนส่ง โดยเฉพาะการขนส่งข้ามจังหวัดหรือข้ามประเทศ “อยากจะบอกว่าผักที่เหมาะกับการบริโภคควรจะมีเอนไซม์ ซึ่งมันยังอยู่ครบไม่ได้สลายไปไหนหลังการเก็บเกี่ยวไม่เกิน 3 วัน แต่ด้วยระยะทางการขนส่งข้ามจังหวัด ข้ามประเทศ ทำให้เอนไซม์ในผักที่ควรจะมีมันน้อยลงกว่าที่เราควรจะได้รับ”

“noBitter แก้ไขปัญหาง่ายๆ ด้วยการจำหน่ายจุดที่เราปลูก คือ เราปลูกเสร็จเราก็ตัดให้ผู้บริโภคเลย ผักที่ได้ก็สดมาก สารอาหารอยู่ครบ และไม่ป่นเปื้อนจากการขนส่ง เราอยากให้คนซื้อไปทานเลย อย่าซื้อไปเก็บในตู้เย็นนานๆ”

“เราไม่อยากให้ซื้อผักไปเก็บเป็นอาทิตย์ อยากให้ซื้อแล้วได้ทานเลย เพราะฉะนั้นในช่วงแรกเราจึงรับออร์เดอร์จัดส่งให้ใกล้เฉพาะสถานที่ปลูกก่อนก็คือในกรุงเทพฯ สำหรับบางคนที่อยากทานแต่อยู่ไกล อยู่ต่างจังหวัด เราก็จะแนะนำให้เขาซื้อใกล้บ้านมากกว่าเพราะสุดท้ายแล้ว ได้ความสดแล้วก็จะได้สารอาหารครบด้วย”

สนใจสั่งซื้อ ‘ผักสดออนไลน์’

ผักปลอดสารพิษจากฟาร์ม noBitter สำหรับคนรักสุขภาพที่อยากมั่นใจในแหล่งที่ซื้อสามารถสั่งจองได้เลยที่